วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556

Reading Skill



Reading Skill (ทักษะการอ่าน)



        การอ่านภาษาอังกฤษ มี 2 ลักษณะ คือ การอ่านออกเสียง (Reading aloud) และ การอ่านในใจ(Silent Reading ) การอ่านออกเสียงเป็นการอ่านเพื่อฝึกความถูกต้อง (Accuracy) และความคล่องแคล่ว ( Fluency) ในการออกเสียง 
        ส่วนการอ่านในใจเป็นการอ่านเพื่อรับรู้และทำความเข้าใจในสิ่งทีอ่านซึ่งเป็นการอ่านอย่างมีจุดมุ่งหมาย เช่นเดียวกับการฟังต่างกันที่ การฟังใช้การรับรู้จากเสียงที่ได้ยิน ในขณะที่การอ่านจะใช้การรับรู้จากตัวอักษรที่ผ่านสายตา ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถเพิ่มพูนขึ้นได้ด้วยเทคนิควิธีการโดยเฉพาะ ครูผู้สอนจึงควรมีความรู้และเลือกใช้เทคนิคในการสอนทักษะการอ่านให้แก่ผู้เรียนอย่างไรเพื่อให้การอ่านแต่ละลักษณะประสบผลสำเร็จ
1. เทคนิควิธีปฏิบัติ 
        1.1 การอ่านออกเสียง การฝึกให้ผู้เรียนอ่านออกเสียงได้อย่างถูกต้อง และคล่องแคล่ว ควรฝึกฝนไปตามลำดับโดยใช้เทคนิควิธีการดังนี้
           (1) Basic Steps of Teaching (BST) มีเทคนิคขั้นตอนการฝึกต่อเนื่องกันไปดังนี้
                - ครูอ่านข้อความทั้งหมด 1 ครั้ง/นักเรียนฟัง
               - ครูอ่านทีละประโยค/นักเรียนทั้งหมดอ่านตาม
               - ครูอ่านทีละประโยค/นักเรียนอ่านตามทีละคน(อาจข้ามขั้นตอนนี้ได้ถ้านักเรียนส่วนใหญ่อ่านได้ดีแล้ว)
               - นักเรียนอ่านคนละประโยคให้ต่อเนื่องกันไปจนจบข้อความทั้งหมด
               - นักเรียนฝึกอ่านเอง
               - สุ่มนักเรียนอ่าน
          (2) Reading for Fluency ( Chain Reading)คือเทคนิคการฝึกให้นักเรียนอ่านประโยคคนละประโยคอย่างต่อเนื่องกันไปเสมือนคนอ่านคนเดียวกันโดยครูสุ่มเรียกผู้เรียนจากหมายเลขลูกโซ่เช่นครูเรียกChain-number One นักเรียนที่มีหมายเลขลงท้ายด้วย1,11,21,31,41, 51จะเป็นผู้อ่านข้อความคนละประโยคต่อเนื่องกันไปหากสะดุดหรือติดขัดที่ผู้เรียนคนใดถือว่าโซ่ขาดต้องเริ่มต้นที่คนแรกใหม่หรือเปลี่ยนChain-numberใหม่ 
           (3) Reading and Look upคือเทคนิคการฝึกให้นักเรียนแต่ละคนอ่านข้อความโดยใช้วิธีอ่านแล้วจำประโยคแล้วเงยหน้าขึ้นพูดประโยคนั้นๆอย่างรวดเร็วคล้ายวิธีอ่านแบบนักข่าว
           (4)Speed Readingคือเทคนิคการฝึกให้นักเรียนแต่ละคนอ่านข้อความโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ การอ่านแบบนี้อาจไม่คำนึงถึงความถูกต้องทุกตัวอักษรแต่ต้องอ่านโดยไม่ข้ามคำเป็นการฝึกธรรมชาติในการอ่านเพื่อความคล่องแคล่ว(Fluency)และเป็นการหลีกเลี่ยงการอ่านแบบสะกดทีละคำ
           (5) Reading for Accuracyคือการฝึกอ่านที่มุ่งเน้นความถูกต้องชัดเจนในการออกเสียงทั้งstress / intonation/cluster/final soundsให้ตรงตามหลักเกณฑ์ของการออกเสียง(Pronunciation)โดยอาจนำเทคนิคSpeed Readingมาใช้ในการฝึกและเพิ่มความถูกต้องชัดเจนในการออกเสียงสิ่งที่ต้องการจะเป็นผลให้ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านได้อย่างถูกต้อง(Accuracy)และคล่องแคล่ว(Fluency)ควบคู่กันไป
        1.2การอ่านในใจขั้นตอนการสอนทักษะการอ่านมีลักษณะเช่นเดียวกับขั้นตอนการสอนทักษะการฟังโดยแบ่งเป็น3กิจกรรมคือกิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน(Pre-Reading)กิจกรรมระหว่างการอ่านหรือขณะที่สอนอ่าน(While-Reading)กิจกรรมหลังการอ่าน(Post-Reading)แต่ละกิจกรรมอาจใช้เทคนิคดังนี้
           (1) กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน(Pre-Reading)การที่ผู้เรียนจะอ่านสารได้อย่างเข้าใจควรต้องมีข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับสารที่จะได้อ่านโดยครูผู้สอนอาจใช้กิจกรรมนำให้ผู้เรียนได้มีข้อมูลบางส่วนเพื่อช่วยสร้างความเข้าใจในบริบทก่อนเริ่มต้นอ่านสารที่กำหนดให้โดยทั่วไปมี2ขั้นตอนคือ
                 -  ขั้นPersonalizationเป็นขั้นสนทนาโต้ตอบระหว่างครูกับผู้เรียนหรือระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนเพื่อทบทวนความรู้เดิมและเตรียมรับความรู้ใหม่จากการอ่าน
                -  ขั้นPredictingเป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนคาดเดาเกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่านโดยอาจใช้รูปภาพแผนภูมิหัวเรื่อง ฯลฯที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะได้อ่านแล้วนำสนทนาหรืออภิปรายหรือหาคำตอบเกี่ยวกับภาพนั้นๆหรืออาจฝึกกิจกรรมที่เกี่ยวกับคำศัพท์เช่นขีดเส้นใต้หรือวงกลมล้อมรอบคำศัพท์ในสารที่อ่านหรืออ่านคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะได้อ่านเพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบแนวทางว่าจะได้อ่านสารเกี่ยวกับเรื่องใดเป็นการเตรียมตัวล่วงหน้าเกี่ยวกับข้อมูลประกอบการอ่านและค้นหาคำตอบที่จะได้จากการอ่านสารนั้นๆหรือทบทวนคำศัพท์จากความรู้เดิมที่มีอยู่ ซึ่งจะปรากฏในสารที่จะได้อ่านโดยอาจใช้วิธีบอกความหมายหรือทำแบบฝึกหัดเติมคำ ฯลฯ
             (2) กิจกรรมระหว่างการอ่านหรือกิจกรรมขณะที่สอนอ่าน(While-Reading)เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในขณะที่อ่านสารนั้นกิจกรรมนี้มิใช่การทดสอบการอ่านแต่เป็นการ“ฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ”กิจกรรมระหว่างการอ่านนี้ควรหลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติทักษะอื่นๆ เช่นการฟังหรือการเขียนอาจจัดกิจกรรมให้พูดโต้ตอบได้บ้างเล็กน้อยเนื่องจากจะเป็นการเบี่ยงเบนทักษะที่ต้องการฝึกไปสู่ทักษะอื่นโดยมิได้เจตนากิจกรรมที่จัดให้ในขณะฝึกอ่านควรเป็นประเภทต่อไปนี้
                   - Matchingคืออ่านแล้วจับคู่คำศัพท์กับคำจำกัดความหรือจับคู่ประโยคเนื้อเรื่องกับภาพแผนภูมิ
                   - Orderingคืออ่านแล้วเรียงภาพแผนภูมิตามเนื้อเรื่องที่อ่านหรือเรียง
ประโยค (Sentences) ตามลำดับเรื่องหรือเรียงเนื้อหาแต่ละตอน(Paragraph)
                  -Completingคืออ่านแล้วเติมคำสำนวนประโยคข้อความลงในภาพแผนภูมิตารางฯลฯตามเรื่องที่อ่าน
                  -Correctingคืออ่านแล้วแก้ไขคำสำนวนประโยคข้อความให้ถูกต้องตามเนื้อเรื่องที่ได้อ่าน
                  -Decidingคืออ่านแล้วเลือกคำตอบที่ถูกต้อง(Multiple Choice)หรือเลือกประโยคถูกผิด(True/False) หรือเลือกว่ามีประโยคนั้นๆในเนื้อเรื่องหรือไม่หรือเลือกว่าประโยคนั้นเป็นข้อเท็จจริง(Fact)หรือเป็นความคิดเห็น(Opinion)
                  -Supplying/Identifyingคืออ่านแล้วหาประโยคหัวข้อเรื่อง(Topic Sentence)หรือสรุปใจความสำคัญ( Conclusion)หรือจับใจความสำคัญ( Main Idea)หรือตั้งชื่อเรื่อง(Title)หรือย่อเรื่อง(Summary)หรือหาข้อมูลรายละเอียดจากเรื่อง(Specific Information)
               (3)กิจกรรมหลังการอ่าน(Post-Reading)เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาในลักษณะทักษะสัมพันธ์เพิ่มขึ้นจากการอ่านทั้งการฟังการพูดและการเขียนภายหลังที่ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมระหว่างการอ่านแล้วโดยอาจฝึกการแข่งขันเกี่ยวกับคำศัพท์สำนวนไวยากรณ์จากเรื่องที่ได้อ่านเป็นการตรวจสอบทบทวนความรู้ความถูกต้องของคำศัพท์สำนวนโครงสร้างไวยากรณ์หรือฝึกทักษะการฟังการพูดโดยให้ผู้เรียนร่วมกันตั้งคำถามเกี่ยวกับเนื้อเรื่องแล้วช่วยกันหาคำตอบสำหรับผู้เรียนระดับสูงอาจให้พูดอภิปรายเกี่ยวกับอารมณ์หรือเจตคติของผู้เขียนเรื่องนั้นหรือฝึกทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ได้อ่านเป็นต้น


เทคนิคการสอนอ่านภาษาอังกฤษ reading skill



การอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ 
การระดมความคิดแบบเอบีซี (ABC Brainstorm)
        เป็นการทำกิจกรรมก่อนนำไปสู่เรื่องที่ต้องการให้ผู้เรียนอ่าน โดยการทบทวน หรือ ดึงความรู้ที่ผู้เรียนมีอยู่แล้ว มากระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจเรื่องที่กำลังจะอ่านและเพื่อให้ผู้เรียนอ่านเรื่องนี้ได้ง่ายขึ้น ก่อนที่ผู้สอนจะให้ผู้เรียนพูด เขียน หรือ อ่าน เรื่องๆ หนึ่ง ผู้สอนจำเป็นที่จะต้องหาวิธีรื้อฟื้นความรู้เดิมที่มีอยู่แล้วของผู้เรียนผู้สอนอาจใช้เทคนิค การระดมความคิดแบบเอบีซีโดยผู้สอนให้ผู้เรียนคิดถึงคำหรือวลีที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่จะเรียน ให้ตรงกับตัวอักษรแต่ละตัวในแผ่นภาพ ABC Brainstorm 
        หัวข้อที่เหมาะสมสำหรับเทคนิคการระดมความคิดแบบเอบีซี ควรเป็นเรื่องที่กว้างและเกี่ยวข้องกับผู้เรียน เช่น รัฐบาล ศาสนา สงคราม ภูมิประเทศบริเวณ หรือเป็นหัวข้อเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้เรียนเพิ่งได้ศึกษาจะเป็นการทบทวนที่ดี อาจจะเป็นหัวข้อเกี่ยวกับ ช่วงทศวรรษต่างๆ ยุคสมัยต่างๆ ของมนุษย์ก็ได้ หรือแม้กระทั่งหัวข้อที่แคบเช่น รัฐธรรมนูญ พระมหากษัติรย์ไทย อาจเป็นเรื่องที่น่าจะลองทำดูได้

บรรยายด้วยภาพ (Graphic Organizers) หรืือข้อความที่เรากำหนด โดยผู้สอนสามารถเรียกการบรรยายด้วยภาพได้หลายๆ แบบ เช่น webs, maps, concept maps การบรรยายด้วยภาพเป็นพื้นฐานในการที่จะนำเสนอข้อมูลด้วยภาพ โดยผู้สอนสามารถสร้างแผนผังที่จะจัดเรียงข้อมูลดังนี้ ข้อมูลเกี่ยวข้องกับใจความสำคัญ (main ideas) หัวข้อย่อย (subtopics) และรายละเอียด (details) ข้อมูลที่ต่อเนื่องกัน (in sequence) ข้อมูลที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆ ข้อเปรียบเทียบและเปรียบต่างระหว่างสิ่งของหรือแนวความคิดตั้งแต่ ชนิดขึ้นไป ข้อมูลที่เป็นองค์ประกอบในเรื่อง ข้อมูลที่ผู้สอนคิดขึ้นมาเองตามต้องการ รูปแบบในการทำการบรรยายด้วยภาพมีจำนวนมาก อาจดูได้จากหนังสือ คู่มือ และ คำแนะนำต่างๆ สำหรับบทนี้จะนำเสนอการใช้ การบรรยาย ด้วยภาพอย่างง่าย เพื่อช่วยให้เพิ่มศักยภาพด้านความคิด 
เทคนิคการทำกิจกรรม 
        มีผู้เรียนจำนวนหนึ่งที่มีความสามารถในการจินตนาการภาพ วาดภาพ หรือมองหลายสิ่งออกมาอย่างเป็นรูปธรรม เปรียบเหมือนภาพ 
ภาพ มีค่าเท่ากับคำนับพันคำที่จะนำมาใช้ในการบรรยายเรื่องๆ หนึ่ง ดังนั้น ผู้สอนจึงควรวางแนวความคิดว่าจะจัดเรียงความคิด (ideas) ความจริง (facts) และแนวความคิด (concepts) อย่างไรให้เป็นรูปธรรม การบรรยายด้วยภาพเป็นเทคนิคหนึ่งในการที่จะช่วยให้ผู้เรียนจัดเรียงข้อมูล ออกมาเป็นรูปธรรม เพื่อช่วยในการจดจำ นำมาใช้ได้ง่าย เนื่องจากข้อมูลมีการจัดเรียงเป็นขั้นตอนและเป็นหมวดหมู่ 
        ตัวอย่างของการบรรยายด้วยภาพ คือ โซ่แสดงความสัมพันธ์ต่อเนื่องของเหตุการณ์ และแผนภาพแสดงการต่อเนื่องของเวลา 

           1. โซ่แสดงความสัมพันธ์ต่อเนื่องของเหตุการณ์ 
(Chain of Events) แผนภาพแบบนี้ใช้แสดงความสัมพันธ์ต่อเนื่องของเหตุการณ์ หรือขั้นตอนของกระบวนการต่างๆ 
        กุญแจสำคัญ คือ ต้องทราบว่าเหตุการณ์ใดเป็นเหตุการณ์แรก เหตุการณ์ใดเป็นเหตุการณ์ที่สอง หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในลำดับต่อมา เหตุการณ์หนึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดเหตุการณ์อีกเหตุการณ์หนึ่งได้อย่างไร และ ผลลัพธ์ท้ายสุดคืออะไร 

เทคนิคการอ่านแบบการเน้นใจความสำคัญนี้มีวิธีตรงตามชื่อ คือ เลือกขีดเส้นใต้ข้อความที่ผู้อ่านเห็นว่าจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องที่อ่าน 

เน้นใจความสำคัญ (Selective Underlining) 
        การใช้สีป้ายข้อความให้เด่นขึ้นมา (highlighting) ก็ถือว่าเป็นเทคนิคการอ่านแบบ การเน้นใจความสำคัญเหมือนกัน เทคนิคการอ่านแบบการเน้นใจความสำคัญนี้มีประโยชน์มากโดยเฉพาะเมื่อเรียนระดับอุดมศึกษา ผู้พัฒนาเทคนิคนี้กล่าวว่า ไม่เพียงแต่ผู้เรียน จะอ่านบริเวณที่ได้เลือกขีดเส้นใต้ข้อความเท่านั้น แต่ผลจากการขีดเส้นใต้ข้อความมีส่วนทำให้ผู้เรียนอยากอ่านขึ้นมา โดยเฉพาะเมื่อได้ทำการ ใช้สีป้ายข้อความ ซึ่งเป็นผลทางจิตใจ ทำให้ผู้เรียนมั่นใจว่าได้อ่านส่วนนี้ไปแล้วและได้สรุปเน้นใจความหรือข้อความสำคัญไว้แล้วด้วย ดังนั้น ต้องสอนวิธีนี้แก่ผู้เรียนอย่างชัดเจน ให้ผู้เรียนมีเวลาในการฝึก และกระตุ้นให้ผู้เรียนทำกิจกรรมนี้ให้สำเร็จ
เทคนิคการทำกิจกรรม 
        ทำได้หลายวิธี ผู้สอนอาจเริ่มจากชักชวนให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของ “เทคนิคการอ่านแบบการเน้นใจความสำคัญ” ว่าวิธีนี้ดีและมีประโยชน์ แก่ผู้เรียน ผู้เรียนต้องอ่านหนังสือหรือตำราจำนวนมาก เมื่ออ่านไปแล้ว ผู้เรียนมักจะลืม จำไม่ได้ว่าได้อ่านเรื่องอะไร และมีใจความสำคัญหรือ รายละเอียดอะไรบ้าง ผู้เรียนอ่านหนังสือหรือตำรา 
เล่มใช้เวลาเป็นปีๆ แต่เวลาผ่านไปก็ลืม ต่อไปนี้เป็นเทคนิคการอ่านแบบการเน้นใจความสำคัญ เริ่มต้น ต้องให้ผู้เรียนตระหนักว่าสิ่งที่ผู้เรียนจะต้องอ่านไม่ได้อยู่ในหนังสือหรือตำราเท่านั้นและอาจเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ ให้พิจารณาเนื้อหาและแหล่งข้อมูลที่เหมาะสม เช่น หนังสือพิมพ์ ซึ่งจะเป็นแหล่งข้อมูลที่จะช่วยในการเรียนและฝึก “เทคนิคการอ่าน แบบการเน้นใจความสำคัญ” ในขณะเดียวกันผู้เรียนจะได้ความรู้แขนงวิชาด้วย การสอน “เทคนิคการอ่านแบบการเน้นใจความสำคัญ” ผู้สอนจะต้องถ่ายเอกสารประมาณ 1-2 หน้ามาให้ผู้เรียนฝึก แจกเอกสารนี้ แก่ผู้เรียน ถ่ายเอกสารลงบนแผ่นใสสำหรับผู้สอนเอง เพื่อใช้เป็นต้นแบบและตัวอย่างให้ผู้เรียนฝึก หากมีอุปกรณ์เพียงพออาจให้ ผู้เรียนฝึกทำจากแผ่นใสเลย หรือทำลงในกระดาษที่แจกแล้ว นำมาเสนอในชั้นเรียน ลองใช้เทคนิคนี้ร่วมกับเทคนิคพลังแห่งการคิด (power thinking) ผู้เรียนอาจใช้กรอบสี่เหลี่ยมสำหรับพลังแห่งการคิด ใช้วงกลมสำหรับพลังแห่งการคิด และขีดเส้นใต้สำหรับพลังแห่งการคิด 3 

การเน้นข้อความสำคัญ (“Annolighting” a Text) 
        Annolighting” มาจากคำว่า Annotation และ Highlight 
        Annotation หมายถึง คำอธิบายหรือหมายเหตุประกอบ และ 
Highlight หมายถึง ระบายสีเน้นข้อความ 
ผู้สอนส่วนมากจะเคยแนะนำให้ผู้เรียนขีดเส้นใต้หรือระบายสีข้อความที่สำคัญในขณะที่ผู้เรียนอ่านหนังสือ และจะพบว่าผู้เรียนจะขีดเส้นใต้หรือระบายสีคำแทบทุกคำที่ปรากฏอยู่ในหน้านั้น ผลงานวิจัยทางการเรียนรู้ภาษาชี้ให้เห็นว่าการขีดเส้นใต้หรือระบายสีข้อความที่สำคัญในขณะที่ผู้เรียนอ่านหนังสือเป็นเทคนิคในการอ่านวิธีหนึ่ง ซึ่งจะต้องมีการสอนให้คำแนะนำอย่างถูกวิธีแก่ผู้เรียนและมีการฝึกอย่างถูกต้องด้วย หากผู้เรียนทำได้ถูกต้องจะช่วยให้การอ่านมีประสิทธิภาพมาก แต่หากผู้เรียนทำได้ไม่ถูกต้องจะช่วยให้การอ่านไม่ประสบผลสำเร็จไปเลย จะทำให้เป็นการเสียเวลาและน้ำหมึกของผู้เรียน วิธี “การเน้นข้อความสำคัญ” เป็นการรวมเอาวิธีการระบายสีข้อความและการเขียนคำอธิบายหรือหมายเหตุประกอบคำหรือข้อความที่สำคัญนั้น โดยเขียนที่บริเวณขอบซ้ายขวาหรือบนล่างของหน้าในหนังสือที่ผู้เรียนอ่าน การนำวิธีการเน้นข้อความสำคัญไปใช้ 
ตั้งคำถามในขณะที่อ่านเพื่อช่วยให้อ่านเข้าใจมากขึ้นและง่ายขึ้น วิเคราะห์และแปลความหมายของส่วนประกอบของร้อยแก้วหรือร้อยกรอง หาข้อสรุปและสมมุติฐานจากข้อมูลที่เขียนไว้ชัดเจน (explicit) หรือโดยนัย(implicit) explicit เช่น ความจริง (fact) สิ่งที่พิสูจน์ได้ (proof) implicit สิ่งที่ผู้เขียนไม่ได้กล่าวตรงๆ ผู้อ่านต้องตีความ ทำความเข้าใจเอง วัตถุประสงค์ของวิธีการเน้นข้อความสำคัญ 

การระดมความคิดแบบหมุนเวียน (Carousel Brainstorm) 
        การระดมความคิดแบบหมุนเวียนเป็นวิธีการฝึกให้ผู้เรียนคิดและดึงเอาความรู้เดิม (background knowledge) หรือความรู้พื้นฐานของ หัวข้อย่อยๆ ที่อยู่ภายใต้หัวข้อใหญ่ออกมาก่อนจะเรียนเรื่องใหม่ต่อไป หรือ เพื่อตรวจสอบความเข้าใจหลังการเรียนของผู้เรียน 
เทคนิคการทำกิจกรรม 
        เริ่มต้นโดยแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่ม ๆ กลุ่มละ 
3-4 คน แต่ละกลุ่มมีกระดาษที่เป็นบรรทัดหรือตารางให้เติม เรียกว่า ใบงานการระดมความคิด แบบหมุนเวียน (Carousel Brainstorm sheet) แต่ละกลุ่มจะมีใบงานการระดมความคิดแบบหมุนเวียน ที่มีหัวข้อย่อยที่แตกต่างกัน ให้ผู้เรียนหนึ่งคนทำหน้าที่เป็นผู้บันทึกและมีปากกาสีพิเศษ แต่ละกลุ่มมีปากกาคนละสี บอกผู้เรียนว่าผู้เรียนมีเวลาสั้นๆ (ประมาณ 30 วินาทีในการที่จะคิดและเขียนสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อย่อยลงไปในใบงานการระดมความคิดแบบหมุนเวียน ให้คิดและเขียนให้มากที่สุด เท่าที่จะเขียนได้ และอธิบายต่อว่าเมื่อครบ 30 วินาทีแล้วจะต้องส่งใบงานการระดมความคิดแบบหมุนเวียนของกลุ่มตัวเองไปให้กลุ่มข้างๆ โดยกำหนดทิศทางการส่งให้เป็นไปในทางเดียวกัน ดังนั้น ทุกกลุ่มจะได้หัวข้อใหม่เข้ามาเรื่อยๆ ให้ทำเหมือนครั้งแรก คือ คิดและเขียนสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อย่อยลงไปในใบงานการระดมความคิดแบบหมุนเวียน ให้คิดและเขียนให้มากที่สุดเท่าที่จะเขียนได้ เมื่อครบ 30 วินาที หรือเมื่อครบเวลาที่จะต้องส่งให้กลุ่มต่อไป เมื่อมีการส่งผ่านไปสัก 4-5 ครั้งให้เพิ่มเวลามากขึ้นเพราะ ความคิดง่าย ๆ จะถูกเขียนลงไป โดยกลุ่มก่อนหน้าแล้ว จึงต้องให้เวลาผู้เรียนในการคิดมากขึ้น พยายามให้ผู้เรียนได้คิดและเขียนสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องลงไปในใบงาน การระดมความคิดแบบหมุนเวียน และก็ส่งไปเรื่อย ๆ จนใบงานการระดมความคิดแบบหมุนเวียนของกลุ่มตนที่เขียนในครั้งแรกวนมาอยู่ที่เดิม จึงจบรอบ ให้ผู้เรียนระดมความคิด อภิปรายในกลุ่มว่าข้อมูลในใบงานการระดมความคิดแบบหมุนเวียนของตน ถูกต้องหรือไม่ เห็นด้วยหรือไม่ แล้วให้แต่ละกลุ่มมารายงานหน้าชั้นเป็นภาษาอังกฤษ 

เทคนิคการสอนอ่านแบบ SQ4R
        เทคนิคการสอนอ่านแบบ 
SQ4R เป็นการสอนเพื่อการสื่อสารประกอบด้วยทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน เพราะในชีวิตประจำวันการอ่านสิ่งใดก็จะอ่านอย่างมีจุดประสงค์ 
และการสอนแบบ 
SQ4R มี ขั้นตอน คือ
           1. (S) Survey เป็นการอ่านอย่างคร่าว ๆ เพื่อหาจุดสำคัญของเรื่อง

           2. (Q) Question เป็นการตั้งคำถามจากเรื่องที่อ่าน

           3. (R) Read เป็นการอ่านเพื่อจับใจความและจับประเด็นสำคัญ ๆ

          4 (R) Record เป็นการจดบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ที่อ่าน โดยใช้ข้อความอย่างย่อ ๆ ตามความเข้าใจของผู้เรียน

          5. (R) Recite เป็นการเขียนสรุปใจความสำคัญ โดยใช้ภาษาของตนเอง

          6. (R) Reflec เป็นการวิเคราะห์ วิจารณ์ บทอ่านที่ผู้เรียนได้อ่านแล้วแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่ผู้เรียนมีความคิดเห็นสอดคล้อง

เทคนิคการสอนอ่านภาษาอังกฤษแบบMIA
        เมอร์ดอกช์ (Murdoch. 1986 : 9) อาจารย์สอนภาษาอังกฤษนักศึกษาครูแห่งมหาวิทยาลัยคูเวต (Kuwait University) เป็นอีกผู้หนึ่งที่คิดวิธีสอนอ่านภาษาอังกฤษ โดยยึดหลักจิตภาษาศาสตร์ (Psycholinguistics) มาใช้ในการสอนเพื่อการสื่อสาร (Communicative Approach) โดยใช้ชื่อว่า “A More Integrated Approach to the Teaching of Reading” เป็นการเน้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่ใช้ทักษะต่างๆ คือ ฟัง พูด อ่าน และเขียน ควบคู่กันไปเพราะ การสอนที่แยกแต่ละทักษะออกจากกันโดยเด็ดขาด ถือว่าไม่เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียน เป็นผู้รอบรู้ทางภาษา และนอกจากนี้ เขายังกล่าวต่อไปว่า การสอนอ่านแล้วให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหัดแบบเลือกตอบ (Multiple choices) หรือ แบบ ถูก-ผิด (True-false) นั้นไม่ใช่เป็นการฝึกการอ่านที่ดีผู้เรียนจะไม่พัฒนาทักษะอย่างอื่นเลย และบางครั้งอาจจะทำให้ผู้เรียนเกิดการสับสนมากขึ้น แบบฝึกหัดที่ดีที่สุดควรจะเป็นแบบฝึกหัดที่ต้องคิด และเขียนออกมาเปน็ คำพูดของตน เป็นการฝึกทั้งกระบวนการคิด (Thinking process) และเป็นการฝึกทักษะการเขียนไปในตัวด้วย การใช้แบบฝึกหัดแบบนี้ถือว่าเป็นการสอนเพื่อการสื่อสารที่ดีมากอีกอย่างหนึ่งด้วย ดังนั้นจึงเป็นที่มาของวิธีสอนอ่าน แบบ MIA



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น